วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2560

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซล์เดียว

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซล์เดียวมี  2  แบบ  คือ  การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ  ซึ่งเราจะทำการศึกษาทั้งสองแบบและสามารถศึกษาได้ดังนี้

1.  การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction)

     การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ(Sexual reproduction)  เป็นการสืบพันธุ์ที่ต้องอาศัยเพศโดยที่มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเซลสืบพันธุ์เพศเมีย  หรืออสุจิกับเซลล์ไข่ ซึ่งอาจเกิดภายในหรือภายนอกร่างกายของสัตว์เพศเมียก็ได้ เซลล์ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วเรียกว่า ไซโกต ซึ่งไซโกตจะเจริญเติบโตไปเป็นเอ็มบริโอ และตัวเต็มวัยที่สามารถสืบพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากร





2.  การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction)

      การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction)   เป็นการเพิ่มจำนวนลูกหลานที่ไม่ต้องอาศั
เพศเข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่มีการผสมกันของเซลล์สืบพันธุ์  การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศส่วนใหญ่เป็นการแบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆ  กัน (Binary fission) เช่น (แบคทีเรีย อะมีบา พารามีเซียม และยูกลีนา)  การแตกหน่อ  พาร์ธีโนเจเนซิส  การงอกใหม่  การสร้างสปอร์  การขาดออกเป็นท่อน  เป็นต้น






วันพุธที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ

 อุปกรณ์คอมพิวเตอร์อื่นๆ

  เป็นหน่วยจัดเก็บข้อมูลที่ทำงานได้รวดเร็วที่สุด ซึ่งสามารถจำแนกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภท คือ
     1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) หรือเรียกว่า หน่วยความจำภายใน (Internal Memory) สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ - รอม (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำที่มีโปรแกรมหรือข้อมูลอยู่แล้วสามารถเรียกออกมาใช้งานได้แต่จะไม่สามารถเขียนเพิ่มเติมได้และแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงให้แก่ระบบข้อมูลก็ไม่สูญหายไป 



- แรม (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำที่สามารถเก็บข้อมูลได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้น เมื่อใดไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำชนิดนี้จะหายไปทันที



 2. หน่วยความจำรอง (Second Memory) หรือหน่วยความจำภายนอก (External Memory) เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยสื่อบันทึกข้อมูลและอุปกรณ์รับ-ส่งข้อมูลชนิดต่างๆ ได้แก่
 2.1 ฮาร์ดดิสก์    (Hard Disk) เป็นฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งโปรแกรมใช้งานต่างๆ ไฟล์เอกสาร รวมทั้งเป็นที่เก็บระบบปฏิบัติการที่เป็นโปรแกรมควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย


 2.2 ฟล็อบปี้ดิสก์ (Floppy Disk) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาด 3.5 นิ้ว มีลักษณะเป็นแผ่นกลมบางทำจากไมลาร์ (Mylar) สามารถบรรจุข้อมูลได้เพียง 1.44 เมกะไบต์ เท่านั้น




2.3 ซีดี (Compact Disk - CD) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบดิจิทัล เป็นสื่อที่มีขนาดความจุสูง เหมาะสำหรับบันทึกข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซีดีรอมทำมาจากแผ่นพลาสติกกลมบางที่เคลือบด้วยสารโพลีคาร์บอเนต (Poly Carbonate) ทำให้ผิวหน้าเป็นมันสะท้อนแสง โดยมีการบันทึกข้อมูลเป็นสายเดียว (Single Track) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 120 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีซีดีอยู่หลายประเภท ได้แก่ ซีดีเพลง (Audio CD) วีซีดี (Video CD - VCD) ซีดี-อาร์ (CD Recordable - CD-R) ซีดี-อาร์ดับบลิว (CD-Rewritable - CD-RW) และ ดีวีดี (Digital Video Disk - DVD)  


 2.4 รีมูฟเอเบิลไดร์ฟ (Removable Drive) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีตัวขับเคลื่อน (Drive) สามารถพกพาไปไหนได้โดยต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วย Port USB ปัจจุบันความจุของรีมูฟเอเบิลไดร์ฟมีตั้งแต่ 2, 4 , 8 , 16 , 32 กิกะไบต์ ทั้งนี้ยังมีไดร์ฟลักษณะเดียวกัน เรียกในชื่ออื่นๆ ได้แก่ Pen Drive , Thump Drive , Flash Drive



 2.5 ซิบไดร์ฟ (Zip Drive) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่จะมาแทนแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์ มีขนาดความจุ 100 เมกะไบต์ ซึ่งการใช้งานซิปไดร์ฟจะต้องใช้งานกับซิปดิสก์ (Zip Disk) ความสามารถในการเก็บข้อมูลของซิปดิสก์จะเก็บข้อมูลได้มากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์



 2.6 Magnetic optical Disk Drive เป็นสื่อเก็บข้อมูลขนาด 3.5 นิ้ว ซึ่งมีขนาดพอๆ กับฟล็อบปี้ดิสก์ แต่ขนาดความจุมากกว่า เพราะว่า MO Disk drive 1 แผ่นสามารถบันทึกขัอมูลได้ตั้งแต่ 128 เมกะไบต์ จนถึงระดับ 5.2 กิกะไบต์



  2.7 เทปแบ็คอัพ (Tape Backup) เป็นอุปกรณ์สำหรับการสำรองข้อมูล ซึ่งเหมาะกับการสำรองข้อมูลขนาดใหญ่มากๆ ขนาดระดับ 10-100 กิกะไบต์




 2.8 . การ์ดเมมโมรี (Memory Card) เป็นอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็ก พัฒนาขึ้น เพื่อนำไปใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยีแบบต่างๆ เช่น กล้องดิจิทัล คอมพิวเตอร์มือถือ (Personal Data Assistant - PDA) โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น


อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของ output

หน่วยแสดงผล (Output)
คือ มีอุปกรณ์ส่งออก (output device) ทำหน้าที่แสดงผลจากการประมวลผล โดยนำผลที่ได้ออกจาก หน่วยความจำหลักแสดงให้ผู้ใช้ได้เห็นทางอุปกรณ์ส่งออก อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ส่วนใหญ่คือ จอภาพ และเครื่องพิมพ์ เป็นต้น 



จอภาพ เป็นอุปกรณ์ที่รับสัญญาณจากการ์ดแสดงผล มาแสดงเป็นภาพบน จอภาพ ซึ่งเทคโนโลยีจอภาพในปัจจุบันคงจะเป็น จอภาพแบบ Trinitron และ Flat Screen(จอแบน) ไม่ว่าจะเป็น CRT(moniter ทั่วไป) หรือ LCD (จอที่มีลักษณะแบนเรียบทั้งตัวเครื่อง) จอแบนจะมีประสิทธิภาพ ในการแสดงผลมากกว่าจอปกติ เพราะสามารถลดแสดงสะท้อนได้ดี กว่าทำให้ไม่เกิดอาการเมื่อยล้า และปวดตาเมื่อต้องทำงานนาน ๆ แต่ ราคาของจอแบนยังมีราคาสูงกว่า จอปกติพอสมควรทำให้ยังไม่เป็น ที่นิยมมากนัก แต่ในอนาคตอันใกล้จอแบนคงจะมีราคาที่ถูกกว่านี้ และเป็นมาตรฐานของจอภาพคอมพิวเตอร์ในอนาคต




การที่ผู้ใช้มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ปรากฏบนจอภาพได้นั้น เป็นเพราะฮาร์ดแวร์อีกตัวหนึ่ง ที่ทำงาน ควบคู่กับจอภาพเรียกว่า การ์ดสำหรับแสดงผลจอภาพ (Display Adapter Card) เป็นวงจรภายใน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานร่วมกับจอภาพ


จำนวนสีที่สามารถแสดงบนจอภาพได้นั้นเป็นตัวกำหนดว่าภาพบนจอจะมีสีสรรสมจริงเพียงใดโดยจอ VGA (Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 640X480 พิกเซล จอ SVGA (Super Video Graphics Array) แสดงผลในโหมดความละเอียด 800X600 พิกเซล จอภาพในปัจจุบันเกือบทั้งหมดใช้จอระดับนี้แล้วจอภาพที่ แสดงจำนวนสี 65,536 หรือ 16 บิตสี จะแสดงความสมจริงได้ดีพอสมควร เหมาะสำหรับงานการฟฟิก มัลติมีเดีย และสิ่งพิมพ์ ส่วนจอภาพที่แสดงจำนวนสี 16,777,216สีจะให้สีสมจริงตามธรรมชาติ สีระดับนี้เหมาะสำหรับงาน ตกแต่งภาพและงานสิ่งพิมพ์ระดับสูง
LCD นี้ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งหมายความว่า มอนิเตอร์แบบนี้ เป็นแบบผลึกเหลว ผลึกเหลวนี้เป็นสสารที่แทบจะเรียกได้ว่าโปร่งใส และมีคุณสมบัติ ก้ำกึ่งระหว่างของแข็ง และของเหลว คือว่า เมื่อตอนอยู่เฉยๆ เนี่ย ผลึกเหลวจะอยู่ในสถานะ ของเหลว แต่เมื่อมีแสงผ่านมา ก็จะเกิด การจัดเรียงโมเลกุลใหม่ ผลึกเหลวก็จะมีคุณสมบัติ เป็นของแข็งแทน ส่วนแสงที่ผ่านไปเรียบร้อยแล้ว ก็จะกลับมามีคุณสมบัติเป็นของเหลว เหมือนเดิม 


สำหรับปัจจุบันนี้ มอนิเตอร์ LCD นั้นใช้กันอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นมอนิเตอร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบพกพาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โน้ตบุ๊ค และ PDA (พวกเครื่องปาล์ม)รวมไปถึงก้าวมามีบทบาทแทนที่มอนิเตอร์แบบ 
CRT (Cathode-ray tube)ของเครื่องตั้งโต๊ะที่เคยใช้กันแล้ว ในปัจจุบันแบ่งออกได้เป็นสองแบบใหญ่ๆ ก็คือ 
Dual-Scan Twisted Nematic (DSTN)
Thin Flim Transistor (TFT) 

จอ LCD แบบ TFT หรือ Thin Film Transistor นั้นถูกพัฒนาเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง ของ จอ LCD แบบ DSTN โดยเป็นแบบ Active Matrix ทำให้มีการตอบสนอง ต่อการ เปลี่ยนแปลงของภาพที่เร็ว และมีความคมชัดขึ้น รวมทั้งมอนิเตอร์แบบ TFTจะมีรูปร่างบางกว่า มอนิเตอร์แบบ LCDปกติ จึงทำให้มันมีน้ำหนักเบากว่า และอัตรารีเฟรชของภาพก็ใกล้เคียง กับมอนิเตอร์แบบCRT เนื่องจากว่ากระแสไฟฟ้านั่นวิ่งเร็วกว่าจอ LCD แบบ DSTN


เปรียบเทียบข้อดีข้อด้อยระหว่างมอนิเตอร์แบบ LCD กับ มอนิเตอร์แบบ CRT
LCD
CRT
  • พื้นที่ในการแสดงผล
  • ดีกว่ามากเมื่อเทียบขนาดเดียวกัน
  • มุมมอง
  • มีแค่ 49-100 องศา
    มีมุมมองกว้างถึง >190 องศา
  • ความสว่าง
  • สบายตา
    สว่างมาก (แสบตาถ้าต้องเพ่งนานๆ)
  • อัตราการรีเฟรชของภาพ
  • แบบ(TFT)ใกล้เคียง CRT
    มีอัตราเร็วที่สุด
  • การใช้พลังงาน
  • ประหยัด
    กินไฟ
  • การแผ่รังสี
  • มีอัตราการแผ่รังสี =0
    มีการแผ่รังสี
  • พื้นที่ในการติดตั้ง
  • ใช้พื้นที่น้อยนิด
    ใช้พื้นที่ในการวางมากกว่า
  • อายุการใช้งาน
  • ประมาณ 6.85 ปี (2,500วัน)
    6-8 ปี


    ข้อควรจำ
    ใครที่ชอบเปิดคอมฯ และมอนิเตอร์ไว้เป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ใช้งาน อย่าลืมใช้ screen saver เพราะการที่ ลำแสง อิเล็คตรอนถูกยิงออกมาเพื่อ ฉายภาพเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีกเรื่อยๆ จะทำให้เจ้าสารเรืองแสงที่เคลือบอยู่ที่ผิวจอ 
    เสื่อมได้ การใช้ screen saver ก็จะทำให้ลำแสงที่ยิงออกมาเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ฉายซ้ำอยู่ที่เดียวค่ะ

    เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)

    เป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการเรียนการสอนหรือการประชุม เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชม จำนวนมากเห็นพร้อม ๆ กัน อุปกรณ์ ฉายภาพในปัจจุบันจะมีอยู่หลายแบบ ทั้งที่สามารถต่อสัญญาณจาก คอมพิวเตอร์โดยตรง หรือใช้อุปกรณ์พิเศษในการวางลงบนเครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ (Overhead Projector) ธรรมดา เหมือนกับอุปกรณ์นั้นเป็นแผ่นใสแผ่นหนึ่ง
    อุปกรณ์ฉายภาพก็จะมีข้อแตกต่างกันมากในเรื่องของกำลังส่องสว่าง เนื่องจากยิ่งมีกำลังส่องสว่างสูง ภาพที่ได้ก็จะชัดเจนมากขึ้น กำลังส่องสว่างมีหน่วยวัดค่าอยู่ 3 แบบ คือ LUX, LUMEN และ ANSI LUMEN โดยการวัดแบบ LUX จะวัดค่าความสว่างที่จุกี่งกลางของภาพ จึงได้ค่าความสว่างสูงที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบ การวัดแบบ LUMEN จะแบ่งภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ บน กลาง และ ล่าง และแต่ละส่วนจะถูกแบ่งออกเป็น 3 จุด คือ ริมซ้าย กลาง และ ริมขวา รวมจุดภาพทั้งหมด 9 จุด แล้วจึงใช้ค่าเฉลี่ยของความสว่างทั้ง 9 จุดคิดออกมาเป็นค่า LUMEN ส่วนการวัดแบบ ANSI LUMEN จะมีมาตรฐานสูงสุด โดยใช้วิธีเดียวกับ LUMEN แต่จะกำหนด ขนาดจอภาพไว้คงที่คือ 40 นิ้ว(หากไม่กำหนด การวัดค่าความสว่างจะสูงขึ้นเมื่อจอภาพมีขนาดเล็กลง)



    เครื่องฉายภาพ (LCD Projector)
    ลำโพง
    เป็นอุปกรณ์ส่งออกที่แสดงผลข้อมูลเสียง โดยต้องใช้งานคู่กับอุปกรณ์ ที่เรียกว่า การ์ดเสียง (sound card) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรกนิกส์ที่เสียบอยู่กับเมนบอร์ด ภายในตัวถัง หรือที่เรียกว่าเคท (cartridge) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ตัวนี้ทำหน้าที่แปลง สัญญาณดิจิทัลที่ส่งมาจาก เครื่องคอมพิวเตอร์ ให้เป็นสัญญาญแอนาล็อก แล้วส่งผ่านไปยัง ลำโพง ซึ่งจะแปลงสัญญาณที่ได้รับ เป็นเสียงให้เราได้ยิน ไม่ว่าจะเป็นเสียงเพลง หรือ เสียงเตือนถึงข้อผิดพลาด
    speaker
    เครื่องพิมพ์แบบจุด

    คุณภาพของงานพิมพ์เอกสารโดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่งขึ้นกับประสิทธิภาพของเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญสำหรับ นำข้อมูลที่ประมวลผลแล้วพิมพ์ลงบนกระดาษตามที่ต้องการ เครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในปัจจุบันมีหลายแบบ หลายยี่ห้อ เครื่องพิมพ์ที่มีผู้นิยมใช้งานสูง ชนิดหนึ่งคือเครื่องพิมพ์แบบจุด (dot matrix printer)

    เครื่องพิมพ์แบบจุดเป็นเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก มีราคาถูก คุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ใช้งานได้ทั่วไป

    การที่เรียกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุด เพราะรูปลักษณะตัวอักษรที่พิมพ์ออกมาจะเป็นจุดเล็ก ๆ อยู่ในกรอบ เช่น ตัวอักษรที่มีความละเอียดในแนวทางสูงของตัวอักษร 24 จุด และความกว้างแต่ละตัวอักษร 12 จุด ขนาดแมทริกซ์ของตัวอักษรจะมีขนาด 24x12 จุด

    การพิจารณาซื้อเครื่องพิมพ์แบบจุด ควรพิจารณาคุณลักษณะที่สำคัญของเครื่องพิมพ์ดังต่อไปนี้

    1. จำนวนเข็มของหัวพิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้ทั่วไปหัวพิมพ์มีเข็มเล็ก ๆ จำนวน 9 เข็ม แต่ถ้าต้องการให้งานพิมพ์มีรายละเอียดมากหรือ มีรูปแบบตัวหนังสือสวยขึ้น หัวพิมพ์ควรมีจำนวนเข็ม 24 เข็ม การพิมพ์ตัวหนังสือในภาวะความสวยงามนี้เรียกว่า เอ็นแอลคิว (News Letter Quality : NLQ) ดังนั้นเครื่องพิมพ์ที่หัวพิมพ์มีเข็มจำนวน 24 เข็ม จะพิมพ์ได้สวยงามกว่าเครื่องพิมพ์ที่หัวพิมพ์มีเข็มจำนวน 9 เข็ม

    2. คุณภาพของหัวเข็มกับงานพิมพ์ หัวเข็มเป็นลวดที่มีกลไกขับเคลื่อน ใช้หลักการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า หัวเข็มที่มีคุณภาพดีต้องแข็ง สามารถพิมพ์สำเนากระดาษหนาได้สูงสุดถึง 5 สำเนา คุณสมบัติการพิมพ์สำเนานี้เครื่องพิมพ์แต่ละเครื่องจะพิมพ์ได้ไม่เท่ากันเพราะมีคุณภาพแรงกด ไม่เท่ากัน ทำให้ความชัดเจนของกระดาษสำเนาสุดท้ายต่างกัน

    3. ความละเอียดของจุดในงานพิมพ์ ความละเอียดของจุดในงานพิมพ์จะขึ้นอยู่กับขนาดของหัวเข็มและกลไกการขับเคลื่อนของเครื่องพิมพ์ แต่ละรุ่น เช่น 360x360 จุดต่อนิ้ว 360x180 จุดต่อนิ้ว คุณภาพการพิมพ์ภาพกราฟิกขึ้นอยู่กับคุณลักษณะนี้

    4. อุปกรณ์ตรวจสอบหัวพิมพ์ เครื่องพิมพ์แบบจุดบางรุ่นจะมีอุปกรณ์ตรวจสอบหัวพิมพ์ เช่น

    การตรวจสอบความร้อนของหัวพิมพ์ เพราะเมื่อใช้พิมพ์ไปนาน ๆ หัวพิมพ์จะเกิดความร้อนสูงมาก แม้มีครีบระบายความร้อนแล้ว ก็อาจไม่พอเพียง ถ้าความร้อนมาก อุปกรณ์ตรวจความร้อนจะส่งสัญญาณให้เครื่องพิมพ์ลดความเร็วของการพิมพ์ลง ครั้งเมื่ออุณหภูมิลดลงก็จะเพิ่มความเร็วของการพิมพ์ไปเต็มพิกัดอีก

    การตรวจสอบความหนาของกระดาษ เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีอุปกรณ์ตรวจสอบกระดาษ ถ้าป้อนกระดาษหนาไปจะทำให้หัวพิมพ์เสียหายได้ง่าย ตัวตรวจสอบความหนาจะหยุดการทำงานของเครื่องพิมพ์ เมื่อตรวจพบว่ากระดาษหนาเกินไป เพื่อป้องกันความเสียหายของหัวพิมพ์ นอกจากนี้ยังสามารถสอบว่ากระดาษหมดหรือไม่อีกด้วย

    5. ความเร็วของการพิมพ์ ความเร็วของการพิมพ์ มีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อวินาที การวัดความเร็วของเครื่องพิมพ์ต้องมีคุณลักษณะ การพิมพ์เป็นจุดอ้างอิง เช่น พิมพ์ได้ 300 ตัวอักษรต่อวินาที ในภาวะการพิมพ์แบบปกติ และที่ขนาดตัวอักษร 10 ตัวอักษรต่อนิ้วแต่หากพิมพ์ แบบเอ็นแอลคิว (NLQ) โดยทั่วไปแล้วจะลดความเร็วเหลือเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น การทดสอบความเร็วในการพิมพ์นี้อาจไม่ได้เท่ากับคุณลักษณะ ที่บอกไว้ ทั้งนี้เพราะขณะพิมพ์จริง เครื่องพิมพ์มีการเลื่อนหัวพิมพ์ขึ้นบรรทัดใหม่ ขึ้นหน้าใหม่ การเลื่อนหัวพิมพ์ไปมาจะทำให้เสียเวลาพอสมควร ความเร็วของเครื่องพิมพ์แบบจุดในปัจจุบันมีตั้งแต่ 200-500 ตัวอักษรต่อวินาที

    6. ขนาดแค่พิมพ์ เครื่องพิมพ์ที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้มีขนาดแคร่ 2 ขนาด คือใช้กับกระดาษกว้าง 9 นิ้ว และ 15 นิ้ว หรือพิมพ์ได้ 80 ตัวอักษร และ 132 ตัวอักษรในภาวะ 10 ตัวอักษรต่อนิ้ว

    7. ที่พักข้อมูล คุณลักษณะในเรื่องที่พักข้อมูล (buffer) ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการพิมพ์งานนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะส่งข้อมูลลงไปเก็บ ในที่พักข้อมูล ถ้าที่พักข้อมูลมีขนาดใหญ่ก็จะลดภาระการส่งงานของคอมพิวเเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ได้มาก ขนาดของที่พักข้อมูลที่ใช้มีตั้งแต่ 8 กิโลไบต์ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม เครื่องพิมพ์บางรุ่นสามารถเพิ่มเติมขนาดของที่พักข้อมูลได้ โดยการใส่หน่วยความจำลงไป ซึ่งต้องซื้อแยกต่างหาก

    8. ลักษณะการป้อนกระดาษ การป้อนกระดาษเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งานเครื่องพิมพ์ คุณลักษณะที่กำหนดจะต้องชัดเจน การป้อนกระดาษมีตั้งแต่การใช้หนามเตย ซึ่งจะใช้กับกระดาษต่อเนื่องที่มีรูด้านข้างทั้งสองด้าน เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่มีหนามเตยอยู่แล้ว การป้อนกระดาษอีกแบบหนึ่ง คือ การใช้ลูกกลิ้งกระดาษโดยอาศัยแรงเสียดทานซึ่งเป็นคุณลักษณะของเครื่องพิมพ์ทั่วไ ป เครื่องพิมพ์บางรุ่นมีการ ป้อนกระดาษแบบอัตโนมัติ เพียงแต่ใส่กระดาษแล้วกดปุ่ม Autoload กระดาษจะป้อนเข้าไปในตำแหน่งที่พร้อมจะเริ่มพิมพ์ได้ทันที การป้อนกระดาษ เป็นแผ่น ส่วนใหญ่จะป้อนด้วยมือได้ แต่หากต้องการทำแบบอัตโนมัติจะต้องมีอุปกรณ์เพิ่มเพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว อุปกรณ์นี้จะมีลักษณะเป็นถาด ใส่กระดาษอยู่ภายนอกและป้อนกระดาษไปทีละใบเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์บางเครื่องสามารถป้อนกระดาษเข้าเครื่องได้หลายทาง ทั้งจากด้านหน้า ด้านหลัก ด้านใต้ท้องเครื่อง หรือป้อนทีละแผ่น การป้องกระดาษหลายทางทำให้สะดวกต่อการใช้งาน

    9. ภาวะเก็บเสียง เครื่องพิมพ์แบบจุดเป็นเครื่องพิมพ์ที่มีเสียงดัง ดังนั้นบางบริษัทได้พัฒนาภาวะการพิมพ์ที่เสียงเบาเป็นปกติ เพื่อลดภาวะทางเสียง

    10. จำนวนชุดแบบอักษร เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีจำนนชุดแบบอักษร (font) ภาษาอังกฤษ ที่ติดมากับเครื่องจำนวน 4 ถึง 9 ชุด ขึ้นกับเครื่องพิมพ์แต่ละรุ่นชุดแบบอักษรนี้สามารถเพิ่มได้โดยใช้ตลับชุดแบบอักษรภาษาไทย ก็เป็นสิ่งสำคัญ เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่ที่ขายในเมืองไทย ได้รับการดัดแปลงใส่ชุดแบบอักษรภาษาไทยไว้แล้ว

    11. การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ตามมาตรฐานสากลมีสองแบบ คือแบบอนุกรมและแบบขนาน เครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่มักต่อกับคอมพิวเตอร์ โดยมีสายนำสัญญาณแบบ DB25 คือมีขนาดจำนวน 25 สาย การต่อกับเครื่องพิมพ์จะต้องมีสายเชื่อมโยงนี้ด้วย หากต้องการต่อแบอนุกรม จะต้องกำหนดลงไปในเงื่อนไข เพราะเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีตัวเชื่อมต่ออนุกรมเป็นเงื่อนไขพิเศษ

    12. มาตรฐานคำสั่งการพิมพ์ เนื่องจากเครื่องพิมพ์ Epson ได้รับความนิยมมานาน ดังนั้น มาตรฐานคำสั่งการพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ Epson จึงเป็นมาตรฐานที่เครื่องพิมพ์เกือบทุกยี่ห้อใช้ อย่างไรก็ตามเครื่องพิมพ์ไอบีเอ็มก็มีมาตรฐานของตนเองและเครื่องพิมพ์บางยี่ห้อก็ใช้ตาม

    หากจะต่อเครื่องพิมพ์เข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์แมคอินทอช เครื่องพิมพ์จะต้องมีคุณลักษณะในเรื่องภาวะการพิมพ์แตกต่างออกไป คือเป็นแบบโพสท์สคริปต์ (postscript)

    การพิมพ์สี เครื่องพิมพ์บางรุ่น มีภาวะการพิมพ์แบบสีได้ การพิมพ์แบบสีจะทำให้งานพิมพ์ช้าลง และต้องใช้ริบบอนพิเศษ หรือ ริบบอนที่มีสี
    การสั่งงานที่แป้นสั่งงานบนเครื่อง ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ส่วนใหญ่จะมีปุ่มควบคุมการสั่งงานอยู่บนเครื่องและมีจอภาพแอลซีดีขนาดเล็กเพื่อแสดงภาวะการทำงาน
    เครื่องพิมพ์เลเซอร์


    เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่กำลังได้รับความนิยม เครื่องพิมพ์นี้อาศัยเทคโนโลยีไฟฟ้าสถิตย์ที่พบได้ในเครื่องถ่ายเอกสารทั่วไปโดยลำแสงจากไดโอดเลเซอร์จะฉายไปยังกระจกหมุน เพื่อสะท้อนไปยังลูกกลิ้งไวแสง ซึ่งจะปรับตามสัญญาณภาพหรือตัวอักษรที่ได้รับจากคอมพิวเตอร์ และกราดตามแนวยาวของลูกกลิ้งอย่างรวดเร็ว สารเคลือบบนลูกกลิ้งจะทำปฎิกิริยากับแสงแล้วเปลี่ยนเป็นประจุไฟฟ้าสถิตย์ ซึ่งทำให้ผงหมึกเกาะติดกับพื้นที่ที่มีประจุ เมื่อกระดาษพิมพ์หมุนผ่านลูกกลิ้ง ความร้อนจะทำให้ผงหมึกหลอมละลายติดกับกระดาษได้ภาพหรือตัวอักษร

    เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ได้รับการควบคุมอย่างแม่นยำ ทำให้ความละเอียดของจุดภาพที่ปรากฎบนกระดาษสูงมาก งานพิมพ์จึงมีคุณภาพสูง ทำให้ได้ภาพและตัวหนังสือที่คมชัดสวยงาม การพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะไม่ส่งเสียงดังเหมือนเครื่องพิมพ์แบบจุด แต่จะเงียบเหมือนเครื่องถ่ายเอกสาร

    เครื่องพิมพ์เลเซอร์ที่นิยมนำมาใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีความเร็วของการพิมพ์ประมาณ 6 ถึง 24 หน้าต่อนาที โดยมีความละเอียดของจุดภาพประมาณ 300 จุดต่อนิ้ว จึงทำให้ได้ภาพกราฟิกที่สวยงามและตัวหนังสือที่คมชัด มีชุดแบบอักษรหลายชุด เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับสูงจะมีความเร็วของการพิมพ์สูงขึ้นคือตั้งแต่ 20 หน้าต่อนาทีไปจนถึง 70 หน้าต่อนาที เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับสูงนี้ จะมีราคาแพง ไม่เหมาะต่อการนำมาใช้งานในสำนักงานทั่วไป

    เครื่องพิมพ์เลเซอร์ยังมีการพัฒนาต่อไป โปรแกรมสร้างภาพกราฟิกจะมีขีดความสามารถสูงขึ้น สามารถสร้างและวาดภาพในลักษณะ เป็นชิ้นส่วนวัตถุมาผสมผสานกันให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น โปรแกรมต่าง ๆ จะต้องแปลงข้อมูลภาพมาเป็นจุดภาพ แล้วจึงส่งข้อมูลจุดภาพไปยังเครื่องพิมพ์ ภาพที่สร้างและแสดงผลออกที่เครื่องพิมพ์จะใช้เวลายาวนานหลายนาทีต่อภาพ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ยุคใหม่จะมีหน่วยประมวลผลหรือไมโครโพรเซสเซอร์อยู่ภายในสำหรับรับข้อมูลภาพเพื่อแบ่งเบาภาระงานของ 
    คอมพิวเตอร์ ขณะเดียวกันจะมีหน่วยความจำขนาดใหญ่ขึ้นสำหรับเก็บข้อมูลภาพได้มากขึ้น


    คำสั่งหรือภาษาเพื่ออธิบายข้อมูลภาพที่นิยมใช้กับเครื่องเลเซอร์รุ่นใหม่นี้ ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาโพสท์คริปต์ จนนิยมเรียกเครื่องพิมพ์นี้ว่า เครื่องพิมพ์โพสท์คริปต์

    ในการเลือกซื้อเครื่องพิมพ์เลเซอร์มาใช้งานจะต้องพิจารณาคุณลักษณะต่างๆ ดังนี้

    1. คุณภาพของการพิมพ์ หน่วยบอกคุณภาพจะระบุเป็นจุดภาพ เริ่มจาก 300 จุดภาพต่อนิ้วขึ้นไปจนถึง 600 จุดภาพต่อนิ้ว ถ้าจำนวนจุดภาพต่อนิ้วสูงมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้ภาพคมชัดมากขึ้นเท่านั้น

    2. ความเร็วของการพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์ระดับใช้งานทั่วไปจะมีอัตราความเร็วของการพิมพ์ประมาณ 6 ถึง 24 หน้าต่อนาที ซึ่งอัตราความเร็วของการพิมพ์ตามที่ระบุไว้ในคุณลักษณะของเครื่องอาจจะไม่ถูกต้องนัก ผู้ใช้อาจทดสอบความเร็วด้วยงานพิมพ์ต่าง ๆ กัน เช่นพิมพ์เอกสารแบบไม่เว้นบรรทัด เอกสารแบบเว้นบรรทัดและภาพกราฟิก โดยมีชุดแบบอักษรต่าง ๆ กัน แล้วจดบันทึกเวลาเพื่อเปรียบเทียบผล

    3. หน่วยความจำของเครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์เลเซอร์จะมีหน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลตัวอักษรและภาพเอาไว้ ตามปกติจะมี หน่วยความจำอยู่ 512 กิโลไบต์ถึง 1 เมกะไบต์ และสามารถขยายเพิ่มเติมได้อีก เครื่องที่มีหน่วยความจำสูงกว่า ราคาแพงกว่าจะทำงานได้เร็วกว่า เพราะคอมพิวเตอร์สามารถส่งข้อมูลภาพไปพิมพ์ได้ทันที ไม่ต้องเสียเวลาส่งข้อมูลหลาย ๆ ครั้ง
    เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (Ink Jet Printer)


    เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก โดยหัวพิมพ์ ซึ่งเป็นตลับหมึกของเครื่องพิมพ์ จะมีรูเล็กๆ ไว้พ่นหมึกลงบนกระดาษ ใช้หลักการพ่นหมึกลงในตำแหน่งที่ต้องการ โดยการควบคุมด้วย ไฟฟ้าสถิตย์จากคอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่เกิดเสียงดัง ในขณะใช้งาน และยังสามารถพ่นหมึกเป็นสีต่างๆ เป็นเครื่องพิมพ์สีได้อีกด้วย
    เครื่องพิมพ์ประเภทนี้ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ตามเทคโนโลยีของผู้ผลิต เช่น Bubble Jet, Desk Jet Printer เป็นต้น เป็นเครื่องพิมพ์ที่ราคาไม่สูงมากนัก ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างสูง


    

    คุณภาพของเครื่องพิมพ์
    ความเร็วในการพิมพ์ ประมาณ 0.5 ถึง 12 หน้าต่อนาที (pages per minutes : ppm.) 
    ความละเอียดในการพิมพ์ ประมาณ 180 - 1440 จุดต่อนิ้ว (dot per inch : dpi) 

    หมึกพิมพ์
    หมึกของเครื่องพิมพ์ จะเก็บไว้ในตลับ สามารถเปลี่ยนตลับใหม่ได้ ปัจจุบันมีวิธีฉีดสีเข้าไปในตลับ แทนที่จะเปลี่ยนตลับ ทำให้ประหยัดต่อผู้ใช้ โดยสีที่ใช้ประกอบด้วย แม่สีฟ้า (Cyan) แม่สีม่วง (Magenta) และแม่สีเหลือง (Yellow) โดยสีดำจะเกิดจากการผสมของแม่สีทั้งสามสี ซึ่งไม่ดำสนิท เหมือนตลับหมึกสีดำเฉพาะ
    เครื่องวาด (Plotter)
    Plotter เป็นอุปกรณ์แสดงข้อมูลที่มักจะใช้กับงานออกแบบ (CAD) โดยจะแปลงสัญญาณข้อมูล เป็นเส้นตรง หรือเส้นโค้ง ก่อนพิมพ์ลงบนกระดาษ ทำให้แสดงผลเป็นกราฟแผนที่ แผนภาพต่าง ๆ ได้ โดยตัวพล็อตเตอร์ จะมีปากกามากกว่า 1 ด้าม เคลื่อนไปมา ด้วยการควบคุมของคอมพิวเตอร์ โดยปากกา แต่ละด้ามจะมีสี, และขนาดเส้นที่ต่างกัน ทำให้ได้ภาพที่สวยงาม มีคุณภาพสูง และขนาดตามขนาด ของเครื่องพล็อตเตอร์

    อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในส่วนของ process

    อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลหลักๆดังนี้

    ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญมากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ ตัวที่อินเทอรัพการแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อการ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพเท่านั้น

    หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วย
    หน่วยความจำหลัก(Primary Storage) แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
    1. หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM)
           เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น
    2. หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)


              เป็นหน่วยความจำหลักที่จำเป็น หน่วยความจำ ชนิดนี้จะสามารถเก็บข้อมูลได้ เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นเมื่อใดก็ตามที่ไม่มีกระแสไฟฟ้า มาเลี้ยง ข็อมูลที่อยู่ภายในหน่วยความจำชนิดจะหายไปทันที หน่วยควมจำแรม ทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูล (Input) หรือ การนำออกข้อมูล (Output) โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ 
         1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป 
         2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล 
         3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ 
         4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วน นี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสังให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้นๆ
    เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) 

                   เมนบอร์ด (Mainboard, mother board) หรือ แผงวงจรหลัก เป็นหัวใจสำคัญที่สุดที่อยู่ภายในเครื่อง เมื่อเปิดฝาเครื่องออกมาจะเป็นแผงวงจรขนาดใหญ่วางนอนอยู่ นั่นคือส่วนที่เรียกว่า "เมนบอร์ด" ส่วนประกอบหลักที่สำคัญบนเมนบอร์ดคือ

      ซ็อคเก็ตสำหรับซีพียู
      ชิปเซ็ต (Chip set)
      ซ็อคเก็ตสำหรับหน่วยความจำ
      ระบบบัสและสล็อต
      Bios
      สัญญาณนาฬิกาของระบบ
      ถ่านหรือแบตเตอรี่
      ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ
      ขั้วต่อสวิทช์และไฟหน้าเครื่อง
      จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
      ขั้วต่อ IDE
      ขั้วต่อ Floppy disk drive
      พอร์ตอนุกรมและพอร์ตขนาน
      พอร์ตคีย์บอร์ดและเมาส์
      พอร์ต USB

    อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ส่วนของ input

    อุปกรณ์นำเข้า(Input Device)

     อุปกรณ์นำเข้า(Input Device)เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลหรือชุดคำสั่งเข้ามายังระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลต่อไปได้ ซึ่งอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง หรือวิดีโอ เป็นต้น อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่พบเห็นได้ในปัจจุบันพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

    1. อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device 
              1.1 คีย์บอร์ด 
    (Keyboard) เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่นิยมใช้กันมากที่สุดและพบเห็นในการใช้งานทั่วไป โดยรับข้อมูลป้อนเข้าที่เป็นตัวอักษร อักขระพิเศษ ตัวเลข รวมถึงชุดคำสั่งต่าง ๆ ตัวอุปกรณ์จะมีกลุ่มของแป้นพิมพ์วางเรียงต่อกันเหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีด ผู้ใช้งานสามารถเลือกกดปุ่มใด ๆ ได้ทันที โดยข้อมูลทั้งหมดที่ป้อนเข้ามาจะถูกส่งเข้าไปเก็บยังหน่วยความจำของระบบและแปลงให้เป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน จากนั้นจึงจะนำไปประมวลผลต่อไป ปัจจุบันอาจพบเห็นคีย์บอร์ดประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้


                    (1) คีย์บอร์ดมาตรฐาน ( Standard keyboard ) เป็นคีย์บอร์ดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป มีลักษณะคล้ายกับแป้นพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด โดยปกติจะประกอบด้วยกลุ่มของแป้นพิมพ์หลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 


              •  แป้นพิมพ์ตัวอักขระ ( alphabetic key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์ซึ่งมีบริเวณใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยแผงอักขระสำหรับการป้อนข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ตัวเลขและอักขระแบบพิเศษทั่วไป

             •  แป้นสำหรับควบคุมทิศทาง ( cursor-movement key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์และเปลี่ยนจุดหรือบริเวณการทำงาน

             •  แป้นฟังก์ชัน ( function key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับการเลือกคำสั่งลัดที่มีอยู่ในบางประเภท แป้นเหล่านี้จะอยู่บนแถวแรกสุดของคีย์บอร์ด

           •  แป้นควบคุม ( control key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับสั่งการบางอย่างร่วมกับปุ่มอื่น ๆ บางครั้งนิยมเรียกว่า modifier keysเช่น Ctrl , Alt , Shift เป็นต้น

          •  แป้นป้อนข้อมูลตัวเลข ( numeric keypad ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับการป้อนค่าข้อมูลที่เป็นตัวเลขเพื่อช่วยในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การป้อนข้อมูลเพื่อคำนวณหรือหาผลลัพธ์ทางบัญชี

                 (2) คีย์บอร์ดติดตั้งภายใน ( Built-in keyboard ) เป็นคีย์บอร์ดที่ปรับขนาดของแป้นพิมพ์ให้เล็กลง พบเห็นในการใช้งานกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทพกพา เช่น โน๊ตบุ๊คหรือเดสก์โน๊ต ซึ่งมีพื้นที่ในการใช้งานค่อนข้างจำกัด แป้นพิมพ์นี้จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับการผลิตเครื่องอยู่แล้ว


                   (3)คีย์บอร์ดเออร์โกโนมิกส์ ( Ergonomic keyboard ) เป็นคีย์บอร์ดที่มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นหลัก เนื่องจากการป้อนข้อมูลเป็นเวลานาน ๆ อาจจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าจากการพิมพ์จนเกิดการบาดเจ็บเนื่องจากเส้นอักเสบได้ จึงมีการออกแบบแป้นพิมพ์ใหม่ เช่น เพิ่มอุปกรณ์สำหรับการวางมือและออกแบบทิศทางสำหรับการจัดวางแป้นพิมพ์ใหม่ให้สัมพันธ์กับสรีระของมนุษย์มากขึ้น ปัจจุบันจะพบเห็นคีย์บอร์ดชนิดนี้เข้ามาแทนที่คีย์บอร์ดมาตรฐานกันมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดปัญหาในเรื่องการบาดเจ็บของข้อมือได้เป็นอย่างดี
                    (4) คีย์บอร์ดไร้สาย ( Cordless keyboard ) คีย์บอร์ดแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป อาจไม่มีความสะดวกสบายมากพอเมื่อต้องการใช้งานในระยะที่ไกลจากโต๊ะทำงาน อีกทั้งการดึง ย้าย หรือเปลี่ยนที่ของอุปกรณ์ยังทำให้เกิดความยุ่งยาก เนื่องจากตัวสายของคีย์บอร์ดเชื่อมต่ออยู่กับตัวเครื่องตลอดเวลา เมื่อเกิดหลุดก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นเพื่อสร้างคีย์บอร์ดแบบใหม่ที่อาศัยการส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สายขึ้นและทำงานโดยใช้พลังงานแบตเตอรี่แทน ทำให้สามารถย้ายคีย์บอร์ดไปวางยังตำแหน่งใด ๆ ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณนอกเหนือจากโต๊ะทำงานได้ 
                  (5)คีย์บอร์ดพกพา ( Portable keyboard ) เมื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องพีดีเอได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น การทำงานบางอย่างที่ต้องอาศัยการป้อนข้อมูลเข้าไป เช่น พิมพ์ข้อความรายงาน จดหมายหรือบันทึกการประชุม จะเกิดความไม่สะดวก เพราะตัวเครื่องมีขนาดเล็ก หากใช้ปากกาช่วยเขียนก็จะทำได้ช้ากว่า จึงมีการสร้างคีย์บอร์ดที่สามารถพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เพียงแค่กางออกมาก็สามารถใช้ได้เหมือนกับคีย์บอร์ดปกติ

                         (6) คีย์บอร์ดเสมือน ( Virtual keyboard ) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอเช่นเดียวกันกับคีย์บอร์ดพกพา แต่ต่างกันตรงที่มีการจำลองภาพให้เป็นเสมือนคีย์บอร์ดจริง โดยอาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนโต๊ะหรืออุปกรณ์รองรับสัญญาณที่เป็นพื้นผิวเรียบ เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถพิมพ์หรือป้อนข้อมูลที่เห็นเป็นภาพเหมือนแผงแป้นพิมพ์นั้นเข้าไปได้เลย ตัวรับแสงในอุปกรณ์จะตรวจจับได้เองว่าผู้ใช้วางนิ้วไหนไปกดตรงตัวอักษรใด


    2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device)
           2.1 
    เมาส์ ( Mouse ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ชี้ตำแหน่งการทำงานรวมถึงสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางคำสั่งที่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยใช้มือเป็นตัวบังคับทิศทางและใช้นิ้วสำหรับการกดเลือกคำสั่งงาน สามารถพบเห็นได้ ประเภท ดังนี้
                     
    เมาส์แบบทั่วไป ( Mechanical mouse ) เป็นเมาส์ที่ได้รับการออกแบบโดยใช้ลูกบอลเป็นตัวจับทิศทางที่เมาส์เลื่อนไป ลูกบอลของเมาส์มีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ ทำจากยางกลิ้งอยู่ด้านล่าง ซึ่งจะลากผ่านแผ่นรองเมาส์ ( mouse pad ) และกลไกภายในจะจับได้ว่ามีการเลื่อนไปมากน้อยแค่ไหนและในทิศใด สำหรับส่วนบนจะมีปุ่มให้เลือกกดประมาณ 2-3 ปุ่ม ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต บางแบบอาจมีปุ่มล้อที่หมุน ( scroll ) และกดได้เพื่อควบคุมการทำงานขึ้นลงของสโครลบาร์ในหน้าต่างโปรแกรมบางประเภท
                          เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์ ( Optical mouse ) การใช้เมาส์แบบทั่วไปที่ใช้ลูกบอล มีข้อเสียคือ เมื่อใช้ไปนาน ๆ ลูกบอลจะกลิ้งผ่านและเก็บเอาฝุ่นละอองเข้าไปด้วย ฝุ่นเหล่านี้จะจับตัวกันหนาขึ้น ส่งผลให้กลไกในการทำงานผิดเพี้ยนไปมาก จึงมีการสร้างเมาส์แบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า เมาส์แบบแสง หรือ ออปติคอลเมาส์ เพื่อใช้แก้ปัญหานี้ เมาส์แบบใหม่นี้ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนแต่ใช้แสงไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง วงจรภายในจะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์และแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้สายและแบบไม่ใช้สาย


            2.2 ลูกกลมควบคุม (Track ball) เป็นอุปกรณ์ที่มีหลักการทำงานคล้ายกับเมาส์ โดยมีลูกบอลติดตั้งไว้ส่วนบนเพื่อใช้สำหรับควบคุมทิศทาง เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็คือการย้ายตำแหน่งตัวชี้นั่นเอง ลักษณะของลูกบอลมีขนาดใหญ่กว่าเมาส์มาก ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ติดตั้งแยกต่างหาก เพื่อช่วยให้การทำงานกับคอมพิวเตอร์แบบพกพาสะดวกมากยิ่งขึ้น ในบางรุ่นอาจติดตั้งแทรคบอลอยู่ไว้ภายในด้วย แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว


             2.3  แท่งชี้ควบคุมหรือพอยติงสติ๊ก ( Pointing stick ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชี้ตำแหน่งข้อมูลเช่นเดียวกัน มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายกับยางลบดินสอ จะติดตั้งอยู่ตรงส่วนกลางของแป้นพิมพ์ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา การควบคุมทิศทางของตัวชี้จะใช้นิ้วมือเป็นตัวบังคับเพื่อเลื่อนทำงานเช่นเดียวกัน โดยเมื่อดันให้แท่งนี้โยกไปทิศทางใด ลูกศรบนจอก็จะเลื่อนไปในทิศทางนั้น

                 2.4 จอยสติ๊ก ( Joystick ) เป็นอุปกรณ์ที่พบเห็นได้กับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเกมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้เมาส์เพื่อบังคับทิศทางนั้นอาจไม่รองรับกับรูปแบบของบางเกมได้ จึงนำเอาจอยสติ๊กมาใช้แทน เช่น การบังคับทิศทางซ้าย ขวา หน้า หลัง หรือบังคับทิศทางในระดับองศาที่แตกต่างกันในการควบคุมอากาศยานหรือท่าต่อสู้ของตัวละคร ซึ่งทำให้เกมมีความสมจริงมากกว่าการใช้เมาส์นั่นเอง

                   2.5  แผ่นรองสัมผัสหรือทัชแพด ( Touch pad ) เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบาง ๆ ติดตั้งไว้อยู่ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา เพื่อใช้ทำงานแทนเมาส์ เมื่อกดสัมผัสหรือใช้นิ้วลากผ่านบริเวณดังกล่าวก็สามารถทำงานแทนกันได้ โดยมากจะติดตั้งไว้บริเวณด้านล่างของแป้นพิมพ์

                      


                    2.6 จอสัมผัสหรือทัชสกรีน ( Touch screen ) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้นิ้วมือแตะบังคับหรือสั่งการไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เมาส์หรือแป้นพิมพ์ มักพบเห็นได้ตามตู้ให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว ตู้ ATM บางธนาคาร เครื่องออกบัตรโดยสาร รถไฟฟ้า หรือพบเห็นในตู้เกมบางประเภท เช่น เกมประเภทจับผิดภาพ เกมประเภททำนายดวงชะตา เป็นต้น


                       2.7 พวงมาลัยพังคับทิศทาง (Wheel) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับการเล่นเกมเหมือนกับจอยสติ๊ก พบเห็นได้กับเกมจำลองประเภทแข่งรถหรือควบคุมทิศทางของยานพาหนะ มีลักษณะเหมือนกับพวงมาลัยบังคับทิศทางในรถยนต์จริง เพื่อให้เกมจำลองนั้น ๆ มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น อาจมีการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เหยียบเบรกจำลอง ( pedal ) และตัวเร่งความเร็วจำลอง ( accelerator ) ด้วย

    3. ประเภทปากกา ( Pen-Based Device )
         3.1 ปากกาแสง ( Light pen ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการกำหนดตำแหน่งบนจอภาพรวมถึงการป้อนข้อมูลเข้าแทนแป้นพิมพ์ เอามาใช้เขียนหรือวางตำแหน่งบนจอภาพคอมพิวเตอร์ประเภทที่ใช้หลอดภาพหรือ CRT ได้เลย มักใช้ร่วมกับโปรแกรมประเภทช่วยการออกแบบหรือ CAD (computer aided design) เพื่อให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถลากหรือวาดทิศทางได้ง่าย แต่มีความละเอียดแม่นยำไม่สูงนัก เพราะถูกจำกัดด้วยความละเอียดของจอภาพ ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง

             3.2 ดิจิไทเซอร์ ( Digitizer ) หรืออุปกรณ์อ่านพิกัด มักใช้ร่วมกับอุปกรณ์ประเภทปากกาหรือในงานความละเอียดสูงจะใช้กับหัวอ่านที่เป็นกากบาทเส้นบาง ( crosshair ) เพื่อให้ชี้ตำแหน่งโดยละเอียด ทำหน้าที่เป็นเสมือนกระดานรองรับการเขียนข้อความ วาดภาพหรือออกแบบงานที่เกี่ยวกับกราฟิกเป็นหลัก ทำให้มีความคล่องตัวและสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น
            3.3 สไตลัส ( Stylus ) เป็นอุปกรณ์ประเภทปากกาป้อนข้อมูลชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ แท็บเล็ตพีซี หรืออาจพบเห็นในสมาร์ทโฟนบางรุ่น ผลิตมาเพื่อใช้เขียนหนังสือด้วยลายมือหรือวาดเส้นลงบนหน้าจออุปกรณ์ได้โดยตรง ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่อำนวยความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยจะทำหน้าที่แปลงรหัสในการเขียน (ที่คล้ายจดชวเลขในสมัยก่อน) ไปเป็นตัวอักษรที่คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลและใช้งานต่อได้ทันที เช่น นำไปจัดเก็บในสมุดรายชื่อ หรือเก็บบันทึกข้อความที่เขียนไว้เป็นไฟล์เพื่อเรียกใช้งานต่อไป

    4. ประเภทข้อมูลมัลติมีเดีย ( Multimedia Input Device)
            4.1 ไมโครโฟน ( Microphone ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทเสียงพูด ( Voice ) เข้าสู่ระบบ ใช้บันทึกหรืออัดข้อมูลเสียงในสตูดิโอหรือตามบ้านทั่วไป การทำงานจะใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย นอกจากนี้ไมโครโฟนยังสามารถใช้ร่วมกับระบบจดจำเสียงพูดหรือ voice recognition (แต่ในขณะนี้ยังไม่สนับสนุนเสียงภาษาไทย) เพื่อทำงานบางอย่างได้ เช่น ใช้เสียงพูดผ่านไมโครโฟนเข้าไปแทนการพิมพ์ข้อมูลรายงานได้เลย โดยที่คอมพิวเตอร์จะทำการแปลงความหมายและประมวลผลผ่านเสียงที่ผ่านเข้ามาเป็นตัวอักษรโดยอัตโนมัติ เป็นต้น
             4.2 กล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล ( Digital Video camera ) เรียกย่อ ๆ ว่ากล้องประเภท DV ซึ่งเป็นกล้องวิดีโอแบบดิจิตอลนั่นเอง กล้องประเภทนี้สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวและบันทึกเก็บหรือโอนถ่ายลงคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน แต่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่พอสมควร โดยมากจะบันทึกลงเทปขนาดเล็กในรูปแบบดิจิตอลก่อน (บางรุ่นอาจลงแผ่น CD-R หรือ DVD-R ที่บันทึกได้แทน) จากนั้นจะถ่ายโอนวิดีโอไปลงคอมพิวเตอร์ หรือจะเรียกดูภายหลังจากในกล้องก็ได้

               4.3 กล้องถ่ายรูปดิจิตอล ( Digital camera ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทภาพถ่ายดิจิตอล ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาของกล้องประเภทนี้ถูกลงและสามารถบันทึกเก็บหรือถ่ายโอนลงคอมพิวเตอร์ได้โดยง่าย อีกทั้งภาพถ่ายที่ได้ในกล้องบางรุ่นยังมีความละเอียด ความคมชัดเทียบเคียงหรือมากกว่ากล้องธรรมดาบางรุ่น หรือหากจะนำไปอัดขยายต่อเป็นภาพถ่ายปกติก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน
                 4.4 เว็บแคม ( Web cam ) เป็นกล้องถ่ายวิดีโออีกประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวเช่นเดียวกัน แต่ภาพที่ได้จะหยาบและมีขนาดไฟล์เล็กกว่ากล้องแบบ DV มาก จึงนิยมใช้สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลลงบนอินเทอร์เน็ตหรือนำไปใช้ประโยชน์กับโปรแกรมสนทนาบนเว็บบางประเภท เพื่อให้เห็นหน้าตาของคู่สนทนาระหว่างที่พิมพ์โต้ตอบกัน ปัจจุบันเว็บแคมมีราคาถูกลงอย่างมาก และยังสามารถบันทึกได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งด้วย
    5. ประเภทสแกนและอ่านข้อมูลด้วยแสง(Scanner and Optical Reader)
           5.1 
    สแกนเนอร์ ( Scanner ) เป็นอุปกรณ์อ่านข้อมูลประเภทภาพถ่าย โดยผู้ใช้เพียงแค่วางภาพถ่ายหรือเอกสารลงไปบนแท่นวางแล้วสั่งให้เครื่องอ่านหรือสแกน ก็สามารถเก็บรูปภาพหรือเอกสารสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้นไว้ในคอมพิวเตอร์ได้ หลักการทำงานจะเหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสารคือ ใช้ลำแสงกวาดแผ่นกระดาษหรือเอกสารนั้น แล้วส่งภาพเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลและเรียกใช้ต่อไป
              5.2 โอเอ็มอาร์ ( OMR – Optical Mark Reader ) เป็นเครื่องที่นำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การสอบเอ็นทรานซ์ การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ การสอบเข้ารับราชการของสำนักงาน ก.พ. โดยจะอ่านเครื่องหมาย ( Mark ) ที่ผู้เข้าสอบได้ระบายไว้ในกระดาษคำตอบ ซึ่งโดยปกติจะต้องใช้ดินสอที่มีความเข้มมากพอที่จะให้เครื่องอ่านได้ (ปกติจะอยู่ที่ความเข้มระดับ 2 B ขึ้นไป) หากใช้ดินสอที่มีความเข้มต่ำกว่าระดับที่กำหนด อาจทำให้เครื่องไม่สามารถอ่านได้ชัดเจน
                 5.3 เครื่องอ่านบาร์โค้ด ( Bar code reader ) ตัวเลขของรหัสสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลังจะมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์จะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย (เช่น ป้อนตัวเลขผิด) จึงเกิดแนวความคิดในการพิมพ์รหัสสินค้าออกมาเป็นรหัสแท่งสีดำและขาวต่อเนื่องกันไปเรียกว่า บาร์โค้ด ( bar code ) ซึ่งนำไปใช้พิมพ์แทนรหัสตัวเลขของสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกต่อการตรวจเช็คข้อมูลสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเอง เครื่องที่อ่านรหัสนี้เราเรียกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด ( bar code reader ) มีหลายรูปแบบ เช่น หัวอ่านมีด้ามจับคล้ายปืน หรือบางแบบก็ฝังในแท่นของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย ( POS – Point Of Sale ) ในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป
                5.4 เอ็มไอซีอาร์ ( MICR – Magnetic-Ink Character Recognition ) เรียกย่อ ๆ ว่าเครื่อง เอ็มไอซีอาร์ ( MICR – Magnetic-Ink Character Recognition ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านตัวอักษรด้วยแสงของเอกสารสำคัญ เช่น เช็คธนาคาร ซึ่งมีการพิมพ์หมายเลขเช็คด้วยผงหมึกสารแม่เหล็ก ( magnetic ink ) เป็นแบบอักษรเฉพาะ มีลักษณะเป็นลายเส้นเหลี่ยม (ดังรูป) พบเห็นได้ในการประมวลผลเช็คสำหรับธุรกิจด้านธนาคาร



    6. ประเภทตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพ ( Biometric Input Device )
          ไบโอเมตริกส์ ( biometric ) เป็นลักษณะของการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวบุคคลเฉพาะอย่าง เช่น ลายนิ้วมือ รูปแบบของม่านตา (เรตินา - ratina ) ฝ่ามือ หรือแม้กระทั่งเสียงพูด ซึ่งนำมาใช้กับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัยในหน่วยงานที่ต้องการความปลอดภัยในระดับสูง เนื่องจากระบบการตรวจสอบประเภทนี้จะปลอมแปลงได้ยาก เครื่องที่ใช้อ่านข้อมูลพวกนี้จะมีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะการตรวจสอบ เช่น เครื่องอ่านลายนิ้วมือ เครื่องตรวจม่านตา เครื่องวิเคราะห์เสียงพูด เป็นต้น

    การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว

    การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซล์เดียว การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซล์เดียวมี  2  แบบ  คือ  การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเ...